การเขียนโปรแกรมบนเว็บ



1.Script คืออะไร



ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ script (สคริปต์) เป็นโปรแกรม หรือชุดของคำสั่งที่ใช้แปล หรือนำออก โดยโปรแกรมอื่นไม่ใช่โดยโพรเซสเซอร์ เหมือนกับโปรแกรมแบบ compiler บางภาษามีการตีความเป็นภาษาสคริปต์ ที่มีความนิยมกันคือ Proctical Extraction and Reporting Language (PERL) , Restructurecl Extended Executor (บน IBM เมนเฟรม) , Java Script และ TC1/Tk ในบริษัทของ wold wide web, Perl, Vbscript และภาษาสคริปต์ที่คล้ายกัน จะได้รับการเขียน เพื่อดูแลรูปแบบการนำเข้า หรือบริการอื่น ๆ สำหรับ web site และประมวลผลบน web sever ส่วน Java Script เป็นสคริปต์ที่เว็บเพจทำงานด้านลูกข่ายบน web browser

โดยทั่วไปภาษาสคริปต์เขียนได้ง่าย และเร็วกว่าภาษาโครงสร้าง และภาษาคอมไพล์ เช่น C และ C++ และแนวคิดของโปรแกรม มีข้อจำกัดความสามารถ หรือการใช้ใหม่ และเชื่อมกับภาษาคอมไพล์ อย่างไรก็ตามสคริปต์ใช้เวลา ในการทำงานนานกว่าภาษาคอมไพล์ เนื่องจากแต่ละคำสั่ง ต้องดูแลโดยโปรแกรมอื่นก่อน (ต้องการคำสั่งเพิ่มขึ้น) แทนที่โดยตรงกับคำสั่งพื้นฐานของโพรเซสเซอร์

script บางครั้งใช้ในความหมาย รายการคำสั่งของระบบปฏิบัติการ ที่เก็บไว้ก่อนในไฟล์ และทำงานตามลำดับ โดยตัวแปลคำสั่งของระบบปฏิบัติการ เมื่อรายการชื่อมีการป้อนเข้าเป็นคำสั่งเดียว

โปรแกรมการพัฒนามัลติมีเดีย ใช้ "script" ในความหมายของชุดคำสั่งที่ผู้ใช้เข้า ระบุชุดของไฟล์มัลติมีเดียในการนำเสนอ (เช่น ชุดของภาพและเสียง, เวลา)
2.server side script

ในปัจจุบันทางเลือกในการหา Server Side Script ของ Webmaster มีมากขึ้น
แต่ก่อนจะกล่าวสิ่งใดต่อไป เรามาลองทบทวนความเข้าใจก่อนว่า Server Side Script
คืออะไร มีความเข้าใจต่อการพัฒนา WebSite ของเราหรือไม่

Server Side Script เป็น Script ประเภทหนึ่งที่ ทำงานหรือ Interpreter ทางฝั่ง
Server โดยกระทำผ่าน CGI จากนั้นจะนำผลการประมวลได้เขียนออกเป็น HTML ก่อนส่งให้กับ Client ที่ร้องขอข้อมูลมา ซึ่งจะแตกต่าง JavaScript หรือ VBScript ซึ่งเป็น Client Side Script
ที่ประมวลผลทางฝั่ง Client
โดยหน้าที่หลักๆ ของ Server Side Script คือการบันทึก เปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อมูลบน Server
ส่งข้อมูลเกี่ยวกับ Client - Server เช่น IP Address, Proxy ไปยัง Client ที่ร้องขอ ซึ่งจะแตกต่างจาก Client Script ที่เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อมูล จะต้องทำที่ฝั่ง Client แล้ว Upload ขึ้นไปไว้ที่ Server อีกทีหนึ่ง

ปัจจุบัน Webmaster มีทางเลือกในการใช้ Server Side Script หลายตัว
ในการพัฒนา WebSite ของตนเอง ซึ่ง Server Side Script ที่ผมพอรู้จักเรียงตาม
ลำดับความเร็วในการ Interpreter ที่ฝั่ง Server จากเร็วไปหาช้า จะได้ลำดับดังนี้

PHP (Personal Home Pages) ปัจจุบันเป็น Version 4.0
Perl
ASP (Active Server Pages) ปัจจุบันเป็น Version 3.0
CGI (Common Gateway Internet)

(ข้อมูลนี้ไม่มีตัวเลขใดสนับสนุนครับ อาศัยจากการเคยเขียน และ Run ด้วยตนเอง
ที่ Server ตัวเดียวกัน ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยครับ)

จะพบว่า PHP สามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด เหตุผลก็คือโครงสร้างของ PHP ถูกพัฒนา
มาจากภาษา C ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ PHP จะประมวลได้เร็วกว่า ในปัจจุบันเราจึงมักจะพบว่า
WebSite ต่างๆ เริ่มใช้ PHP เป็น Server Side Script หลักโดยจะพบนามสกุล
*.php, *.php3, *.php4 มากขึ้น

จากเหตุการณ์นี้ จึงทำให้เกิดคำถามว่า ASP กำลังจะตายแล้วหรือ ผมเองในฐานะ
ที่ใช้ ASP เป็น Script หลักของ WebSite นี้ อยากจะเสนอข้อมูลบางประการ
อย่างน้อยหวังว่าจะเป็น ข้อมูลให้กับ Webmaster หลายๆ คนที่กำลัง เลือกหาว่า
จะใช้ Script ใดดี
การจะเลือกใช้ Script ใดจะต้องคำนึงถึง

ความเร็วในการประมวลผล
ซึ่งหัวข้อนี้ต้องยอมรับครับว่า ASP สู้ PHP ไม่ได้แน่ แต่ความเร็วในการประมวลผลที่ต่างกัน ต่างกัน nanosec หรือ
ส่วนในล้านส่วนของวินาที นะครับ นั้นหมายความว่า ถ้าคุณยอมรับ
ความล่าช้าในการประมวลผลไม่กี่ วินาที ของ ASP ได้ก็ลองดู หัวข้อ ต่อไปครับ
Server ที่รองรับการทำงานของ Script
PHP จะดีกว่าในเรื่องนี้ครับ เพราะ PHP สามารถทำงานได้ทั้ง Windows และ Unix ในขณะที่ ASP สามารถทำได้เฉพาะใน Windows ส่วน ChiliASP ที่เป็น ASP ที่ทำงานบน Unix นั้น
ยังไม่ถือว่า เป็น ASP ที่แท้จริง
ราคาค่าเช่า Server ถ้าเป็นเครื่อง Unix ราคาค่าเช่าจะถูกกว่า เครื่อง Windows ประมาณครึ่งหนึ่งในขนาดพื้นที่เท่ากันครับ แต่การ
ใช้เครื่อง Unix นั้นมีปัญหา ที่ Webmaster จะต้องคอยระวัง
มากมายกว่า Windows มาก เช่น
3.1 ในเรื่องของการ Change Mode เพื่อเปลี่ยน Permission ของ Folder
3.2 วิธีการ Upload Files เข้า Server จะต้องรู้ว่า File ใดต้อง Upload แบบ ASCII File ใดจะต้อง Upload แบบ Binary ถ้าจำนวน File น้อยๆ ก็ไม่เท่าไรแต่ถ้ามี Files มากๆ เมื่อไร เรื่องนี้ก็เรื่องใหญ่ เอาการครับ
3.3 Case Sensitive เป็นเรื่องสำคัญของ Unix ชื่อ File
จะต้องเป็นตัวพิมพ์เล็ก หรือพิมพ์ใหญ่นั้น ขึ้นอยู่กับ Default
ที่ถูกตั้งไว้ เช่น Default File ตั้งไว้เป็น index.php3 แต่เราตั้งชื่อ
เป็น Index.php3 เครื่องจะหาไม่เจอเลย
ซึ่ง Windows จะไม่มีปัญหาเหล่า เข้ามาเกี่ยวข้องเลย
การทำงานกับฐานข้อมูล
เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่สุดในการเลือก Server Side Script ของผม
เลยก็ได้ เนื่องจากฐานข้อมูลเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นความลับ
เป็นความต้องการในการขอดู และเป็นความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
PHP สามารถต่อเชื่อมฐานข้อมูลได้หลายชนิดก็จริง แต่ที่ Server มักจะมี
ให้ใช้งานคือ MySQL ซึ่งถ้าเทียบกับ MS Access แล้ว MS Access
มีความสามารถสูงกว่ามาก
MySQL นั้นเหมาะสมกับ WebSite ส่วนตัวซะมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจาก
ผู้สร้าง ผู้คีย์ข้อมูล และผู้เชื่อมต่อ Script กับ MySQL มักจะกระทำด้วย
Webmaster ทั้งหมด
แต่ถ้าเรามองในมุมกว้างขึ้นตัวอย่าง เช่นผมทำงาน เป็นองค์กร องค์กร
หนึ่ง ผู้สร้าง ผู้คีย์ข้อมูลเข้าฐานข้อมูล ไม่ใช่ Webmaster แต่เป็นพนักงาน
ในส่วนรับผิดชอบซึ่งเกือบร้อยเปอร์เซ็นใน MS Access เพราะจุดเด่น
ในเรื่อง User Interface และเป็นจุดแข็งของ Microsoft ในการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ดังนั้น Webmaster ไม่มีสิทธิเลือกชนิดของฐานข้อมูล มีหน้าที่เพียง
เชื่อมต่อฐานข้อมูล ให้เป็นไปตามความต้องการใช้งานขององค์กร
จุดนี้เองทำให้ผมเปลี่ยน จากการเขียน PHP มาเป็น ASP แทนเพราะ
เราจะต้องก้าวให้สูงขึ้น ซึ่ง PHP ยังต้องพัฒนาความสามารถด้าน ฐานข้อมูล
เพิ่มขึ้นอีกมาก จึงจะเป็นที่ยอมรับ ในการทำงานระดับองค์กรได้

Microsoft เองก็มองเห็นจุดด้อยของ ASP ดังนั้นจึงได้พัฒนา ASP+ ออกมา
เพื่อเพิ่มศักยภาพของ ASP ให้สูงขึ้น ข้อมูลโดยคร่าวๆ ของ ASP+ เช่น

ใช้นามสกุลใหม่เป็น *.aspx
สามารถใช้ cache ในการประมวลผลได้ โดยปกติ
Web Appliocation ที่เขียนด้วย ASP เช่น Webboard สมมุติ มีคน 10 คนเรียกดู หัวข้อเดียวกัน
Server จะต้องประมวลผลหัวข้อเดียวกัน 10 ครั้งเพื่อส่ง
ให้กับ Client ทั้ง 10 คน แต่ใน ASP+ จะประมวลผล
ที่คนแรกครั้งเดียว ส่วนคนที่เหลือจะเอาจาก cache
ส่งไปให้ทำให้ลดการทำงานของ Server และลดเวลา
ในการรอข้อมูล ของ Client ไปได้มาก
สามารถเรียกใช้ Component ที่สร้างขึ้นเอง โดยไม่ต้อง
คอยใช้ SSI หรือร้องขอให้ Admin ทำการ Registry
Component ที่สร้างขึ้น เช่น ถ้าการทำระบบสมาชิก
ของ how2ASP ที่มีให้ Download นั้น มีการเข้า
รหัส Password ของสมาชิกก่อนบรรจุฐานข้อมูล
แต่เป็นการเขียนด้วย Script ซึ่งโอกาสที่ Script จะถูก
แกะเพื่อถอดรหัสข้อมูลสมาชิก มีสูง แต่ผมไม่สามารถ
ใช้ไฟล์ myPWD.dll ซึ่งเป็น Component ที่สร้างขึ้น
ได้เพราะ Admin ของ Server ที่เช่าบริการไม่อนุญาต
แต่ถ้าเป็น ASP+ ผมสามารถเรียก Registry ด้วยตนเอง
ได้ทันที ดังนั้นการทำงานด้วย ASP+ สามารถทำงาน
ได้ถึงระดับ Socket เช่นส่ง SMS, Pager ได้
ความสามารถใช้การทำงานข้าม PlatForm ปัจจุบัน
ASP ทำงานเฉพาะ Windows เท่านั้นแต่ใน ASP+ เราสามารถเอา Code ASP+ ไป Run บน Unix หรือ
Mac ได้เลยโดยไม่ต้อง Rebuild Code ใหม่
3.client side script

ในการทำงานด้าน Web Programming ในการเขียนโปรแกรมนั้น จะถูกแยกการทำงานออกเป็นสองแบบหลักๆ คือ Client-side และ Server-side ในการเขียนโปรแกรมแบบ Server-side นั้นก็ได้แก่ภาษา php, java jsp, .NET เป็นต้น ซึ่งการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเหล่านี้ จะเป็นการ Run โปรแกรม ในฝั่งของ Server แล้ว return ค่า หรือ แสดงผลกลับมาทาง Client ในที่นี้หมายถึง web browser ต่างๆเช่น IE, Firefox, safari

ตัวอย่างการทำงานแบบ Server-side:
client เรียก www.google.com –> Server google ประมวลผล —> ส่งค่ากลับไปให้ที่ Client

จากตัวอย่างเป็นการเรียก เว็บ Google ผ่าน browser เมื่อมีการเรียก URL ดังกล่าว Client จะทำการส่งคำขอไปทาง server ของ google เมื่อมีการตอบรับ จาก server ของ google ก็จะทำตามคำสั่งที่เขียนใว้ที่ server และจะประมวลผล และส่งค่ากลับมายัง browser ที่ทำการร้องขอไป

ส่วนการทำงานแบบ Client Side นั้นเป็นการประมวลผลทางฝั่ง Browser ภาษาที่ใช้ก็เช่น javascript ประโยชน์ของการทำงานฝั่ง Client นั้นก็มีเยอะเลยครับ คือแทนที่เราจะส่งทุกๆอย่างไปประมวลผลที่ server เราก็มาประมวลผลที่ client ก่อนแล้วค่อยส่งบางส่วนไปประมวลที่ server ซึ่งจะช่วยในเรื่องของความเร็วในการทำงานได้มาก และ ลด Load ของ Server ลงได้เยอะมากๆ เพราะการทำงานฝั่ง client นั้นจะประมวลผลที่เครื่องของ user เอง

ผมจะยกตัวอย่างการทำงานแบบ server side และ client side ให้ดูเพื่อให้ห็นความแตกต่างกัน

ตัวอย่าง code การทำงานแบบ Server-side (server.php)
<form name="server-side" action="server.php"> <input type="text" name="myName" > <input type="submit" value="submit" /> </form> <?php if( isset($_POST["myName"]) ) { if($_POST["myName"] == "") { echo " Please key in your name. "; exit(); } else { echo "OK"; } } ?>


จากตัวอย่างด้านบนนี้เป็นการส่งค่า ไปยัง script server.php โดยตรง โดยเป็นการประมวลผลทางฝั่ง Server (server side) จะเห็นได้ว่า เมื่อกด submit ไปแล้ว โปรแกรมจะทำการเช็คว่า มีการกรอกค่าใน form มาหรือไม่ ถ้าค่าว่างจะแสดงข้อความ Error ออกมาพร้อมทั้งให้กลับไปกรอกใหม่ จะเห็นว่ามันเป็นการทำงานที่เพิ่มโหลดให้กับ Server เพราะจะต้องมาทำการเช็คค่า ว่าว่าง หรือเปล่า ถ้าหากเป็นระบบที่มีการใช้งานที่ต้องรองรับจำนวนคนมากๆ อันนี้มีปัญหาแน่ๆครับ แต่ที่ผมยกตัวอย่างมานี้เป็นแค่ตัวอย่างง่ายๆ ซึ่ง script แค่นี้คงไม่ทำให้ server โหลดถึงขนาดล่มไปได้ แต่ถ้าเราเปลี่ยนวิธีการแบบนี้ มาเป็นการใช้ Client side ช่วยละ เป็นอีกวิธีหนึ่งเลยนะครับ ที่จะลดขึ้นตอนการทำงานของ Server ลงได้เยอะเลย มาดูตัวอย่างกัน

ตัวอย่าง code การทำงานแบบ Client Side :<form name="server-side" action="server.php" onSubmit=" return checkForm(); "> <input id="myName" type="text" name="myName" > <input type="submit" value="submit" /> </form> <script type="text/javascript"> function checkForm(){ if( $("#myName").attr("value") == "" ) { alert("Please key in your name."); return false; }else{ return true; } } </script>


จาก code ตัวอย่างด้านบนนี้ เป็นการใช้ ภาษา javascript เช็คค่าของ input box ว่ามีค่าว่างหรือไม่ ถ้ามีค่าว่างจะ alert ข้อความออกมาแจ้งว่าให้กรอกชื่อคุณ จะเห็นได้ว่าวิธีแบบ client side นี้ลดโหลดหรือลดการทำงานทางฝั่ง server ได้พอสมควรเลยแทนที่เราจะส่งค่าไปเช็คด้วยโปรแกรมทางฝั่ง server เราก็ทำการเช็คค่าก่อนทำการส่ง ถ้าค่าถูกต้องตามที่ต้องการแล้วเราค่อยส่งค่าไปประมวลผล แบบนี้ก็เป็นวิธีที่ดีทีเดียว

Tips : ในการออกแบบระบบนั้น ถ้าเราแยกการประมวลผลออกได้ว่าอันใหนควรจะทำที่ browser อันใหน ควรจะส่งไประมวลผลที่ server จะทำให้โปรแกรมที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับการสะสมประสพการณ์ของแต่ละคนครับ
4.PHP
PHP คืออะไร

หลายคนที่ทำเว็บไซต์ด้วย HTML หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Dreamweaver แล้วอาจสงสัยว่าเมื่อทำ form สำหรับ รับค่าเช่น ชื่อ ที่อยู่ เสร็จแล้วจะเก็บค่ายังไง หรือจะทำอย่างไรต่อ หรือเว็บบอร์ดทำงานอย่างไร CMS ทำงานอย่างไร ทำไมบางเว็บไซต์สามารถโต้ตอบกับ ผู้ใช้งานได้ คำตอบของทุกคำถามคือ PHP ครับ


PHP นั้นเป็นภาษาสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป อาจมีข้อสงสัยว่า ต่างจาก HTML อย่างไร คำตอบคือ HTML นั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ จัดตำแหน่งรูป จัดรูปแบบตัวอักษร หรือใส่สีสันให้กับ เว็บไซต์ของเรา แต่ PHP นั้นเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวน ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ อย่างเช่น รับค่าจากแบบ form ที่เราทำ รับค่าจากช่องคำตอบของเว็บบอร์ดและเก็บไว้เพื่อนำมาแสดงผลต่อไป แม้แต่กระทั่งใช้ในการเขียนCMS ยอดนิยมเช่น Drupal , Joomla พูดง่ายๆคือเว็บไซต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ต้องมีภาษา PHP ส่วน HTML หรือ Javascript ใช้เป็นเพียงแค่ตัวควบคุมการแสดงผลเท่านั้น


นอกจากภาษา PHP แล้วยังมีภาษาอื่นอีกหรือไม่

คำตอบคือมีครับ เช่น ASP , JSP แต่ที่นิยมมาก คือ PHP เพราะเป็นภาษาที่สามารถศึกษาได้ง่าย ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน รวมทั้งมีชุมชนคนใช้งาน และคู่มือที่ ดีมาก และสำคัญสุดคือฟรีครับ การใช้งานภาษา PHP ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้


การจะเขียน PHP ต้องมีอะไรบ้าง

อย่างที่บอกไปว่า PHP นั้นจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลดังนั้นการใช้งานเราจะต้องมี Web Server เพื่อให้ตัว PHP สามารถทำงานได้ ต่างจาก HTML งั้นจะทำอย่างไรถ้าเราไม่ได้เช่า Web Server เอาไว้จะใช้งาน PHP ไม่ได้หรือ คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะต้องลงโปรแกรม ให้เครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นทำงานเหมือนกับ Web Server ซะก่อนซึ่งโปรแกรมนั้นชื่อว่า Apache ครับเป็นโปรแกรมฟรีเหมือนกัน นี่เป็นข้อดี ที่ทำให้ทุกคนรัก PHP ครับ หลังจากที่เราทำให้เครื่องของเรานั้นเหมือนกับ Web Server แล้วจะเก็บข้อมูลเว็บไซต์เช่น คำตอบของเว็บบอร์ด จะเก็บอย่างไร คำตอบคือต้องมีโปรแกรมฐานข้อมูลอีกตัวเข้ามาช่วยครับ ซึ่งโปรแกรมที่แนะนำคือ MySQL ครับฟรีอีกเช่นกัน ทั้งหมดสำหรับมือใหม่อาจ จะเริ่มลงโปรแกรมทั้งหมดนั้นยากนะครับ จึงมีโปรแกรมที่รวมทุกอย่าง เพื่อจำลองเครื่องของเราให้เป็น Web Server เลยสามารถลงได้ง่ายๆ ซึ่ง จะมีสอนในบทต่อไปนะครับ


การพัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP

สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP นั้นปรกติจะทำการจำลองเครื่องของตัวเองให้เป็น Web Server ระหว่างการพัฒนาเพื่อดูการทำงาน ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาครับ จากนั้นจึงจะอัพไฟล์ทั้งหมดลงใน Web Server จริงครับ ในส่วนของ Web Server นั้นทาง Hellomyweb ก็มีให้บริการอยู่นะครับ สนใจคลิกที่นี่ครับ ถามว่าเราจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้นทำงานได้เหมือนกับ Web server จริงได้หรือไม่ คำตอบคือได้ครับ แต่มันออกจะไม่คุ่มค่า ทางการเงินนะครับ เพราะเราต้องเสียค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมก็ต้องเปิดไว้ตลอดปิดไม่ได้ เวลาผู้ใช้งานจากภายนอกมาเรียกใช้ก็รองรับไม่ได้ไม่มาก ดังนั้นการเช่า Web Server ภายนอกจะคุ่มค่ามากกว่าครับ หากต้องการจะพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้งานจริงๆ


สำหรับคนที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามสามารถตั้งคำถามได้ที่ Webboard ของ Hellomyweb นะครับ ทางเรายินดีตอบทุกคำถามครับ สำหรับบทต่อไปจะพูดถึงโปรแกรมที่ทำการจำลองเว็บไซต์ของเราให้เป็น Web Server ครับ
5.MySQL
MySQL คืออะไร


อ่าน [16262] หมวดหมู่: แนะนำ MySQL
MySQL เป็นฐานข้อมูล open-source ที่มีความนิยมมากที่สุด มันถูกสร้างขึ้นและสนับสนุนโดย MySQL AB ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ใน Sweden ซึ่ง MySQL เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล (database management system DBMS) สำหรับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (ดังนั้น MySQL จึงเป็น RDBMS)


Database เป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ text, numbers หรือแม้กระทั่ง binary ซึ่งมันจะถูกจัดการโดยผ่าน DBMS


MySQL ประกอบไปด้วยหลาย ๆ ส่วน เช่น MySQL server (mysqld ซึ่งจะเป็นตัว run และจัดการฐานข้อมูล) MySQL client (mysql ซึ่งจะเป็นส่วนที่เป็น interface ให้เราติดต่อกับ server) เป็นต้น โดยเราสามารถติดต่อกับ MySQL โดยการเขียนโปรแกรมภาษาต่าง ๆ ได้เช่น PHP, Perl, Java, C#, C, Ruby, C++ เป็นต้น
6.phpMyAdmin
phpMyAdmin คืออะไร?


ทำความเข้าใจกับคำว่า phpMyAdmin
ถ้าเราจะใช้ฐานข้อมูลที่เป็น MySQL บางครั้งจะมีความลำบากและยุ่งยากในการใช้งาน ดังนั้นจึงมีเครื่องมือในการจัดการฐานข้อมูล MySQL ขึ้นมาเพื่อให้สามารถจัดการ ตัว DBMS ที่เป็น MySQL ได้ง่ายและสดวกยิ่งขึ้น โดย phpMyAdmin ก็ถือเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการจัดการนั้นเอง


phpMyAdmin เป็นส่วนต่อประสานที่สร้างโดยภาษาพีเอชพี ซึ่งใช้จัดการฐานข้อมูล MySQL ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยสามารถที่จะทำการสร้างฐานข้อมูลใหม่ หรือทำการสร้าง TABLE ใหม่ๆ และยังมี function ที่ใช้สำหรับการทดสอบการ query ข้อมูลด้วยภาษา SQL พร้อมกันนั้น ยังสามารถทำการ insert delete update หรือแม้กระทั่งใช้ คำสั่งต่างๆ เหมือนกับกันการใช้ภาษา SQL ในการสร้างตารางข้อมูล


ในส่วนของการแสดงผลหน้าแรกเมื่อเข้าสู่หน้า แสดงผล phpMyAdmin จะแสดงรุ่นของ phpMyAdmin ที่ใช้งานอยู่ พร้อมทั้งสามารถที่จะจัดการกับรหัสอักขระที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ฝั่ง เมนูด้านซ้ายจะแสดงข้อมูลของฐานข้อมูลปัจจุบัน (DATABASE NAME) และเมื่อทำการเลือกแล้วจะแสดงโครงสร้างของ ตารางข้อมูล




การ config ให้ใช้งาน phpMyAdmin
ในกรณีที่ท่านยังไม่กำหนดรหัสผ่านให้กับ root ใน mysql
(เป็นการเริ่มต้นใช้งานที่ง่าย) เปิดแฟ้ม config.inc.php ด้วย notepad แล้วหา 3 บรรทัดด้านล่างนี้


$cfg['PmaAbsoluteUri'] = '';
$cfg['Servers'][$i]['user'] = 'root'; // MySQL user
$cfg['Servers'][$i]['password'] = ''; // MySQL password


การ config เมื่อมีรหัสผู้ใช้สำหรับเข้าใช้ MySQL
ถ้าใน MySQL มี user ชื่อ burin และ password คือ saveworld ให้แก้ไข 3 บรรทัด ดังนี้


$cfg['PmaAbsoluteUri'] = 'http://localhost/phpMyAdmin/';
$cfg['Servers'][$i]['user'] = 'burin'; // MySQL user
$cfg['Servers'][$i]['password'] = 'saveworld'; // MySQL password


php4 กับ mysql4 อาจมีปัญหา
ถ้าพบปัญหา #1251 - Client does not support authentication protocol requested by server
วิธีแก้ไขคือเปลี่ยนรุ่นของ php4 แต่ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนเป็น php5 ก็ให้เปลี่ยนการเข้ารหัสของ password เป็นแบบเก่า
การใช้ mysql ใน Text mode ถ้าพบปัญหาเรื่อง not support authentication ใน phpMyAdmin ก็ต้องเปลี่ยนวิธีเข้ารหัส
ถ้าใช้ php4 กับ mysql4 จะมีปัญหาเรื่อง mysql_connect( ... ) ถ้าต้องการใช้ให้ได้ ต้องใช้ฟังก์ชัน old_password
ถ้ากำหนด $cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'config'; ก็ยังใช้งานได้ ถ้าใช้ old_password
ถ้ากำหนด $cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'http'; จะพิมพ์รหัสผ่านไม่ผ่าน แม้จะใช้ old_password แล้วก็ตาม
7. PostgreSQL (โพสต์เกรสคิวเอล) ชื่อเดิมคือ Postgres (โพสต์เกรส) เป็น DBMS เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลแบบ object-relational database management system หรือ (ORDBMS) พัฒนาที่University of California, Berkeley (มหาวิทยาลัย) เริ่มโครงการโดย Michael Stonebraker เมื่อปี พ.ศ.2528 ในยุคแรกชื่อของระบบเรียกว่า post-Ingres เนื่องมาจากจากเป็นระบบที่มีวิวัฒนาการมาจากระบบจัดการฐานข้อมูล Ingres
คุณสมบัติสำคัญของ PostgreSQL คือการมีคุณสมบัติ ACID ((Atomicity, Consistency, Isolation, Durability) ครบถ้วนโดยสนับสนุน foreign keys, joins, views, triggers, และ stored procedures (หลายภาษา) โดยมีชนิดข้อมูลใน SQL92 และ SQL99 ได้แก่ INTEGER, NUMERIC, BOOLEAN, CHAR, VARCHAR, DATE, INTERVAL, และ TIMESTAMP
นอกจากนี้ PostgreSQL ยังทำงานในหลายแพลทฟอร์มได้แก่ Linux, UNIX (AIX, BSD, HP-UX, SGI IRIX, Mac OS X, Solaris, Tru64), และ Windows
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ PostgreSQL เป็นซอฟต์แวร์แบบรหัสเปิดใช้ลิขสิทธิ์ BSD ซึ่งหมายถึงผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานได้ฟรี นอกจากนี้ในปัจจุบัน PostgreSQL ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรใดโดยเฉพาะแต่มีผู้ร่วมพัฒนาจากทั่วโลกทำให้ PostgreSQL มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง


8. PgAdmin III คือ โปรแกรมสำหรับช่วยในการเขียน SQL กับฐานข้อมูล PostgreSQL
ผมก็ใช้อยู่เหมือนกัน เวบภาษาไทยอาจจะน้อยไปหน่อยครับ ถ้าต้องการใช้ PgAdmin III ก็เหมือนกับการเขียนSQL ด้วย Tool อื่นๆแหละครับ แนะนำสำหรับมือใหม่ ถ้าคุ้นเคยกับ Microsoft ก็ลองใช้ MS Access เขียน SQL ออกมาก่อนแล้ว copy มาลงใน PgAdmin III แต่ต้องปรับนิดหน่อยครับ เพราะบางฟังก์ชั่นใช้ไม่เหมือนกัน


9. IIS ย่อมาจาก Internet Information Service คือ เป็นโปรแกรมสำหรับการจำลองเครื่องของเราให้กลายเป็นเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีไว้ให้บริการด้าน Server ในรูปแบบต่างๆของ Internetเช่น Web server r , FTP Server , SMTP Server ฯลฯ ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ถูกพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งในวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 นั้น เวอร์ชันของ IIS จะเป็นเวอร์ชัน 6.0 (IIS 6.0) ซึ่งทางไมโครซอฟต์ได้ทำการออกแบบโปรแกรมใหม่ทั้งหมด โดยเน้นในเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ เนื่องจากในเวอร์ชันก่อนหน้านั้นคือ IIS 5.0 ในวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 จะมีช่องโหว่ความปลอดภัยค่อนข้างมาก และที่สำคัญคือการมันจะถูกติดตั้งโดยดีฟอลท์พร้อมกับระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยและเป็นช่องทางการระบาดของไวรัสต่างๆ เช่นCode Red และ Nimda ดังนั้น บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 นั้น IIS 6.0 จะไม่ทำการติดตั้งโดยดีฟอลท์พร้อมกับระบบปฏิบัติการแต่ผู้ใช้ต้องทำการติด ตั้งเองเมื่อต้องการใช้งาน และนอกจากนี้ IIS 6.0 ยังได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้สามารถรองรับการใช้งานต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และล่าสุดบริษัทไมโครซอฟท์ ได้ออกเวอร์ชั่นใหม่นั้นคือ IIS 7.0




10. ASP.NET คือ ความหมาย สำหรับคนที่ต้องการอยากจะ เรียน เขียนโปรแกรม ด้วยตัวเอง ถ้าหากว่า ยังไม่รู้ว่าจะเริ่ม ทำเว็บไซต์ ด้วยภาษาอะไรดี อาจจะเริ่มด้วย ASP.NET ก็อาจเป็นการดี เพราะว่า ASP.NET จัดเป็น ภาษา ที่ Microsoft ได้มุ่งเน้นพัฒนาเพื่อให้เป็น ภาษา ของ generation ยุคถัดไป ในโลกของ อินเตอร์เน็ต ยุคใหม่ หรือ ที่เรียกกันว่า Web2.0 ซึ่งเป็น Internet ยุคใหม่ ที่จะมาแทนที่ ยุคของ Internet ยุคเก่า (Web1.0) ซึ่งได้เน้นใช้ XML เป็นหลัก และคิดว่าในอนาคตจะต้องมาแทน HTML อย่างแน่นอน สำหรับ รายละเอียด จะได้กล่าวต่อไป แนวคิดของ .NET กับ โลกอินเตอร์เน็ต ยุคใหม่

.NET คือแนวคิดหนึ่งที่ Microsoft ได้ปลุกปั้นทุ่มทุนพัฒนา มาเป็นเวลานาน โดยเจ้า .NET นี้ได้มีแนวคิดที่ว่า จะนำเอา อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค ทุกอย่างบนโลก มาเชื่อมโยงต่อกันเหมือนตาข่าย ตาม ความหมาย ของมัน หรืออยู่บน ระบบเครือข่าย .NET Framework ซึ่งจะทำให้ ผู้ใช้ทุกคนบนโลก ไม่จำเป็นต้องใช้ อินเตอร์เน็ต ผ่าน คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่นพวก ปาล์ม หรือ อุปกรณ์เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ แต่อย่างใด ตัวอย่าง คุณลองนึกภาพดูว่า หากคุณคิดจะใช้ เตาอบไมโครเวฟ ใน การทำอาหาร อะไรสักอย่าง คุณเพียงแค่ต่อ อินเตอร์เน็ต ผ่านเครื่อง เตาไมโครเวฟ แล้วเลือกเอาว่า เมนูจานเด็ดวันนี้ จะทำอะไรดี หรือ เมนูจานเด็ด จาก เว็บไซต์ ที่ให้บริการ Web services ในเรื่อง การทำอาหาร ที่ในอนาคต จะไม่ได้มีอยู่แค่ Yahoo Google Amazon แต่เจ้าตัว Web services นี้ (ซึ่ง XML RSS จะมามีบทบาทสำคัญ กับ Web services ในอนาคต) ซึ่งเพียงแค่คุณเลือกเมนู การทำอาหาร จาก เว็บไซต์ ที่คุณโปรดปรานเท่านั้น เตาไมโครเวฟ ของคุณก็จะจัดการ ปรุงอาหาร ตามที่ เว็บไซต์ นั้น ได้ตั้งโปรแกรมไว้ ซึ่งแน่นอนว่า Web services ตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเกิดขึ้นมาแน่

โดยทาง เว็บไซต์ ก็จะมีรายได้ จากการที่ผู้ใช้ หรือ สมาชิก ได้ใช้ บริการ Webservices ดังกล่าว ซึ่งทางMicrosoft เองได้วาดหวังว่า ในได้ก้าวเป็นผู้นำใน โลกอินเตอร์เน็ต ยุคใหม่ ที่จะเข้ามามี บทบาทสำคัญ กับ ชีวิต ประจำวัน ของพวกเราทุกคนอย่างแน่นอน กับโลก เทคโนโลยี ที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดนิ่งนี้ แต่ ปัญหา มันมีอยู่ว่า อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค ในหลายแขนง ล้วนถูก ออกแบบ มาต่างๆกัน การที่จะให้ อุปกรณ์ เหล่านั้นติดต่อสื่อสาร กันรู้เรื่องนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก Microsoft เล็งเห็นจุดนี้ จึงได้พยายามที่จะคิดค้นสิ่งที่เป็น มาตรฐาน ขึ้น เพื่อให้อุปกรณ์ทุกๆชนิดทั่วโลก ติดต่อสื่อสาร กันได้อย่างรู้เรื่อง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าใน อนาคต เราจะเปิด เว็ปไซต์ เล่น อินเตอร์เน็ต ด้วย อุปกรณ์ อื่นๆนอกเหนือจาก คอมพิวเตอร์


11. JavaServer Pages (JSP) เป็น web-scripting เทคโนโลยีคล้ายกับ Netscape server-side JavaScript (SSJS) หรือ Microsoft Active Server Pages (ASP) แต่ผิดกันตรงที่หัวใจของ JSP คือJava ซึ่งเป็นภาษาที่คอนเซ็ปหลักอยู่ที่ออฟเจ็ค (object-oriented style) ซึ่งช่วยทำให้ง่ายต่อการพัฒนาในโปรเจคใหญ่ ๆ ตลอดจนสามารถนำส่วนประกอบต่าง ๆ กลับมาใช้ได้อีก (software reusable) จุดเด่นที่สำคัญของJSP คือสามารถทำงานได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตซอฟแวร์รายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปเทคโนโลยีต่าง ๆ มักจะออกมาในลักษณะของผลิตภัณฑ์จากบริษัทผู้ผลิตแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ JSP ใช้ลักษณะของ specificationซึ่งกำหนดโดย Sun Microsystems ดังนั้นผู้ผลิตซอฟแวร์จึงสามารถอ้างอิง specification ที่กำหนดขึ้น ผลิตJSP Container (ตัวที่ใช้ในการรัน JSP) ขึ้นมาใช้กับแฟลตฟอร์มใดก็ได้


12.

เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นก่อน JSP และนำเอาภาษาจาวามาใช้เป็นพื้นฐานบนเว็บเช่นเดียวกัน การทำงาน ของทั้งสองก็คล้ายกันทุกอย่าง แต่ JSP จะมีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมาคือ การแปลงเอกสาร JSP ให้เป็น Servlet ก่อน สรุปก็คือ สุดท้ายเอกสาร JSP จะต้องถูกแปลงเป็นServlet นั่นเอง สำหรับผู้ที่เคยใช้ Servlet มาบ้างจะรู้ดีว่า การแสดงผลของ Servlet จะค่อนข้างยุ่งยากเพราะไม่สามารถใส่แท็กHTML แทรกเข้าไปได้ ต้องพิมพ์แท็ก HTML ออกมาเอง โดยใช้คำสั่ง out.print( ) แต่ถ้าเป็น JSP แล้วเราสามารถนำแท็ก HTML มารวมกับแท็ก JSP ได้เลย




ลองเปรียบเทียบเอกสาร JSP และ Servlet ทั้งสองตัวนี้


Servlet
JSP

out.print (”HTML”) ;
HTML

out.print (”BODY”) ;
BODY

out.print (”Hello World”) ;
%= “Hello World”%

out.print (”/BODY”) ;
/BODY

out.print (”/HTML”) ;
/HTML


ตัวอย่างโค้ดทั้ง Servlet และ JSP จะให้ผลเหมือนกันคือพิมพ์คำว่า “Hello World” ออกมาที่บราวเซอร์ แต่จะเห็นว่าการใช้ JSP ทำให้การจัดหน้าตาของเอกสาร HTML ทำได้สะดวกขึ้นเพราะสามารถสร้างเอกสาร HTMLจากเครื่องมือต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพต่างๆ เช่น Macromedia Dreamweaver หรือMicrosoftFrontPage ก่อน แล้วค่อยนำแท็ก JSP เข้าไปแทรกภายหลัง ทำให้การแสดงข้อมูลเพื่อนำเสนอจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่า


13. easyPHP เป็นชุดโปรแกรมที่รวบรวม PHP + Apache + MySQL + phpMyadmin หรือที่เรียกกันว่า "WAMP " ที่โดยรวมแล้วผมว่าความสามารถสูงกว่า Appserv เลยทีเดียว(ความเห็นส่วนตัว) โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ
->สามารถจัดการ Virtual Hosts ได้แค่ไม่กี่คลิก(ในเวอร์ชั่นหลังๆต้องติดตั้งเพิ่มเติม)
->สามารถเลือกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ในชุด โดยที่ไม่ต้องติดตั้งใหม่ทั้งชุด(แบบง่าย) โดยสิ่งที่ผมชอบใจที่สุด(ใช้งานมาแล้ว) คือการเปลี่ยนเวอร์ชั่น ของPHP โดยที่เราสามารถสวิช เวอร์ชั่นได้แค่ คลิก


14. AppServ คือโปรแกรมที่รวบรวมเอา Open Source Software หลายๆ อย่างมารวมกัน
โดยมี Package หลักดังนี้
- Apache
- PHP
- MySQL
- phpMyAdmin
โปรแกรมต่างๆ ที่นำมารวบรวมไว้ทั้งหมดนี้ ได้ทำการดาวน์โหลดจาก Official Release ทั้งสิ้น โดยตัวAppServ จึงให้ความสำคัญว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องให้เหมือนกับต้นฉบับ เราจึงไม่ได้ตัดทอนหรือเพิ่มเติมอะไรที่แปลกไปกว่า Official Release แต่อย่างได้ เพียงแต่มีบางส่วนเท่านั้นที่เราได้เพิ่มประสิทธิภาพการติดตั้งให้สอดคล้องกับการทำงานแต่ละคน โดยที่การเพิ่มประสิทธิภาพนี้ไม่ได้ไปยุ่ง ในส่วนของ Original Package เลยแม้แต่น้อยเพียงแต่เป็นการกำหนดค่า Config เท่านั้น เช่น Apache ก็จะเป็นในส่วนของ httpd.conf, PHP ก็จะเป็นในส่วนของ php.ini, MySQL ก็จะเป็นในส่วนของ my.ini ดังนั้นเราจึงรับประกันได้ว่าโปรแกรมAppServ สามารถทำงานและความเสถียรของระบบ ได้เหมือนกับ Official Release ทั้งหมด
จุดประสงค์หลักของการรวมรวบ Open Source Software เหล่านี้เพื่อทำให้การติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ได้กล่าวมาให้ง่ายขึ้น เพื่อลดขั้นตอนการติดตั้งที่แสนจะยุ่งยากและใช้เวลานาน โดยผู้ใช้งานเพียงดับเบิ้ลคลิก setup ภายในเวลา 1 นาที ทุกอย่างก็ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ระบบต่างๆ ก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันทีทั้ง Web Server, Database Server เหตุผลนี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่หลายๆ คนทั่วโลก ได้เลือกใช้โปรแกรม AppServแทนการที่จะต้องมาติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ละส่วน
ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ความชำนาญในการติดตั้ง Apache, PHP, MySQL ก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเสมอไป เนื่องจากการติดตั้งโปรแกรมที่แยกส่วนเหล่านี้ให้มารวมเป็นชิ้นอันเดียวกัน ก็ใช้เวลาค่อนข้างมากพอสมควร แม้แต่ตัวผู้พัฒนา AppServ เอง ก่อนที่จะ Release แต่ละเวอร์ชั่นให้ดาวน์โหลด ต้องใช้ระยะเวลาในการติดตั้งไม่น้อยกว่า2 ชั่วโมง เพื่อทดสอบความถูกต้องของระบบ ดังนั้นจึงจะเห็นว่าเราเองนั้นเป็นมือใหม่หรือมือเก่า ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะติดตั้ง Apache, PHP, MySQL ในพริบตาเดียว
มีบางคำถามที่พบบ่อยว่า AppServ สามารถนำไปเป็น Web Server หรือ Database Server ได้ทันทีหรือไม่ ข้อนี้ต้องตอบว่าได้แน่นอน 100% แต่ทางผู้พัฒนาเองขอแนะนำว่า ระบบจัดการ Memory และ CPU บนWindows ที่ทำงานเกี่ยวกับ Web Server หรือ Database Server ไม่เหมาะกับการใช้งานหนักๆ เป็นอย่างยิ่ง เพราะ Windows นั้นจะกลืนกินทรัพยากรอันมหาศาล และหากเทียบอัตรารองรับระบบงานกับ OS ตัวอื่นเช่น Linux/Unix จะยิ่งเห็นได้ชัดว่า OS ที่ป็น Windows ที่มีขนาด Memory และ CPU ที่เท่าๆ กัน OS ที่เป็นLinux/Unix นั้น จะรองรับงานได้น้อยกว่ามากพอสมควร เช่น Windows รับได้ 1000 คนพร้อมๆ กัน แต่Linux/Unix อาจรับได้ถึง 5000 พร้อมๆกัน หากท่านต้องทำงานหนักๆ ทางผู้พัฒนาแนะนำให้เลือกใช้ Linux/Unix OS จึงจะเหมาะสมกว่า


15. Wamp คือการรวมเอาโปรแกรมที่มีความจำเป็นสำหรับการสร้างเว็บไซต์เข้าไว้ด้วยกันประกอบด้วยApache PHP Mysql PhpMyadmin ซึ่งโดยปกติแล้วโปรแกรมเหล่านี้จะต้องติดตั้งทีละตัว ทำให้เสียเวลา และปรับแต่งค่า Configuration ค่อนข้างยาก เมื่อติดตั้ง wamp ซึ่งเป็นไฟล์ .exe ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของเรา สิ่งที่จะได้ประกอบด้วย โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น Webserver (Apache) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (MySql) และโปรแกรม PHP ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์อีกชนิดหนึ่ง สิ่งสำคัญคือต้องเลือกรุ่น หรือเวอร์ชั่นให้ตรงกับระบบปฏิบัติการนั้น ๆ ด้วยครับ


16. XAMPP คือ โปรแกรมจำลองเครื่องตัวเองเป็น WebServer โดยมีตัวโปรแกรมที่ดังกล่าวจะรวมกันเป็นPackage เพื่อสะดวกต่อการติดตั้ง อีกทั้งยังมีตัวช่วยในการ Config อัตโนมัติอีกด้วย

- โปรแกรมที่ช่วยจำลองคอมพิวเตอร์ของคุณให้เป็นเหมือนกับเครื่อง Web Server


XAMPP ย่อมาจากอะไร
XAMPP's name is an acronym for:
X (meaning cross-platform) ประมาณว่าทำมาหลายแพลทฟอร์ม โดยที่ X จะใช้กับ Windows (LAMPP ใช้บน Linux)
A = Apache HTTP Server (ตัว Engine หลักที่เป็นที่ใช้ในการรันเว็บเซฟเวอร์)
M = MySQL
P = PHP
P = Perl Script

XAMPP รวมอะไรมาให้บ้าง

XAMPP ได้ทำการรวม
Version ล่าสุดตอนนี้ http://www.apachefriends.org/en/xampp-windows.html
Apache 2.2.14 (IPv6 enabled) + OpenSSL 0.9.8l
MySQL 5.1.41 + PBXT engine
PHP 5.3.1
phpMyAdmin 3.2.4
Perl 5.10.1
FileZilla FTP Server 0.9.33
Mercury Mail Transport System 4.72




17. XML ย่อมาจาก “Extensible Markup Language” มีต้นแบบมาจาก SGMLเป็นภาษา Markup Language เช่น เช่นเดียวกับ HTML Markup ประกอบด้วยโค้ดหรือที่เรียกว่า แท๊ก (Tag) แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นมันก็ไม่เหมือนกับ HTML เนื่องจาก XML ไม่ได้เพียงแค่แอพพลิเคชั่นของSGML แต่เป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนย่อย ของSGML เท่านั้น ดังนั้น XML จึงเป็นภาษาประเภท Metalanguage ภาษาหนึ่งเช่นเดียวกับ SGML ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถนำ XML ไปสร้างภาษาอื่นๆ หรือ Vocabulary ต่างๆได้


18. Ajax การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
AJAX เป็นโปรแกรมเว็บเป็นเทคนิคการพัฒนาที่ครอบคลุมเทคโนโลยีที่แตกต่างซึ่งทำให้มันน่าสนใจมากขึ้น
Ajax ประกอบด้วยเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
1. Java Script
2. XML
3. CSS
4. W3C DOM
5. XMLHttpRequest


เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่รวบรวมจำนวนมากเพื่อที่ว่าทำไมมันจะไม่ง่ายไม่ยาก ใน Ajax,"A"ย่อมาจาก"ตรงกัน"ที่หมายถึงการส่งข้อมูลจากเบราว์เซอร์และการตอบสนองส่งกลับจากเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ได้เรียงตามลำดับ เมื่อผู้ใช้ทำการร้องขอจากนั้นเซิร์ฟเวอร์สามารถทำงานของตัวเองหรืออาจตอบสนองคำขออื่น ๆ ใน ทำนองเดียวกันเมื่อเซิร์ฟเวอร์ไม่ว่างในการตอบสนองของผู้ใช้อาจทำให้การร้อง ขอต่อไปว่าหมายถึงการร้องขอหรือไม่มีการตอบสนองเป็นซิงโครหรือขึ้นอยู่กับ แต่ละอื่น ๆ

การแลกเปลี่ยนข้อมูลใน AJAX

XML : ใน Ajax, มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยความช่วยเหลือของไฟล์ XML ที่มีเทคนิคอื่น ๆ อีกมากมายนอกจากนี้ยังมีเช่น CSV, JSON ฯลฯ เพราะความเรียบง่ายของ XML จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์และเบราว์เซอร์XML ง่ายมากที่จะฟอร์แมตนำมาใช้ใหม่

DOM : DOM (รูปแบบวัตถุเอกสาร) คือการแสดงเชิงวัตถุของ XML และเอกสาร HTML และให้ API สำหรับเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปแบบ DOM แสดงเอกสาร HTML และ XML เป็นลำดับชั้นของวัตถุซึ่งเป็นที่ง่ายต่อการแยกโดยใช้เครื่องมือ XML

CSS : CSS (Cascading สไตล์ชีต) จะถูกใช้ในเว็บไซต์สำหรับการออกแบบจุดประสงค์เราสามารถใช้ CSS ในเกือบทุกด้านของวิธีการที่หน้าเว็บที่มีลักษณะ, ขนาด, สี, ความกว้าง, ฯลฯ ความยาวของกล่องข้อความพื้นที่การป้อนข้อมูล ฯลฯ . ที่หมายถึงคุณลักษณะของส่วนติดต่อผู้ใช้ทุก ใน AJAX จะเป็นประโยชน์มากที่จะใช้ CSS, คุณสามารถใช้ CSS เป็นเปลี่ยนสีเมื่อตรวจสอบการตรวจสอบในแบบฟอร์มลงทะเบียนและอื่น ๆ

XMLHttpRequest : ซึ่งแตกต่างจากอื่น ๆ หน้าเว็บปกติกับ AJAX, JavaScript ติดต่อสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์โดยใช้วัตถุXMLHttpRequest JavaScript ของ ด้วยความช่วยเหลือของ XMLHttpRequest ที่หน้าเว็บสามารถส่งคำขอและได้รับการตอบสนองจากเซิร์ฟเวอร์ได้โดยไม่ต้องรีเฟรชหน้า วัตถุนี้ได้รับการสนับสนุนโดยทุกเว็บเบราเซอร์ชั้นนำ

JavaScript : เราสามารถพูดได้ว่า JavaScript เป็นจุดหมุนของ AJAX จะดำเนินการและมีบทบาทดังต่อไปนี้
1. การจัดการ XMLHttpRequest ทำคำขอ HTTP
2. ใช้ DOM, XSLT หรือวิธีการอื่นใดที่แยกการตอบสนองมาจากเซิร์ฟเวอร์
3. การนำเสนอการตอบสนองจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังส่วนติดต่อผู้ใช้




19. Web Application
คือ การพัฒนาระบบงานบนเว็บ ซึ่งมีข้อดีคือ ข้อมูลต่าง ๆ ในระบบมีการไหลเวียนในแบบ Online ทั้งแบบ Local (ภายในวง LAN) และ Global (ออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการข้อมูลแบบReal Time ระบบมีประสิทธิภาพ แต่ใช้งานง่าย เหมือนกับท่านทำกำลังท่องเว็บ ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาจะตรงกับความต้องการกับหน่วยงาน หรือห้างร้านมากที่สุด ไม่เหมือนกับโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป ที่มักจะจัดทำระบบในแบบกว้าง ๆ ซึ่งมักจะไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง ระบบสามารถโต้ตอบกับลูกค้า หรือผู้ใช้บริการแบบ Real Time ทำให้เกิดความประทับใจ เครื่องที่ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น
ตัวอย่างระบบงานที่เหมาะกับเว็บ แอพพลิเคชั่น เช่น ระบบการจองสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เช่น การจองที่พัก การจองโปรแกรมทัวร์ การจองแผ่น CD-DVD ฯลฯ ระบบงานบุคลากร ระบบงานแผนการตลาด ระบบการสั่งซื้อแบบพิเศษ ระบบงานในโรงเรียน เช่น ระบบงานวัดและประเมินผล ระบบงานปกครอง ระบบงานห้องสมุด ระบบการลงทะเบียน เช็คเกรด ฯลฯ ระบบงานอื่น ๆ ที่ต้องการนำข้อมูลมา Online
ค่าใช้จ่ายในการทำเว็บ แอพพลิเคชั่น ปกติจะใช้วิธีการคำนวณจากขอบเขตของระบบงาน และปริมาณของข้อมูลที่ไหลเวียนในระบบ รวมถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ ซึ่งทางเว็บ โปรแกรมเมอร์จะคำนวณราคาออกเป็นงาน ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต่อไปนี้รวมกัน ค่าจัดทำระบบงาน ค่าชื่อโดเมน และ Web Hosting (ในกรณีจะนำระบบออกทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ค่าบริการหลังการขาย ค่า Hardware และอุปกรณ์ด้านเครือข่าย เพิ่มเติม อื่น ๆ


20. Web server (แม่ข่ายเว็บ) เป็นโปรแกรม ซึ่งใช้แบบจำลอง ลูกข่าย/แม่ข่าย (client/server) และHypertext Transfer Protocol (HTTP) ของ World Wide Web ที่ให้บริการไฟล์ที่เป็นรูปแบบเว็บเพจให้ผู้ใช้เว็บ (ซึ่งคอมพิวเตอร์เก็บลูกข่าย HTTP ที่ส่งต่อคำขอ) คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนอินเตอร์เน็ตที่เก็บเว็บไซต์ต้องมีโปรแกรมแม่ข่ายเว็บ แม่ข่ายนำตลาด 2 โปรแกรมคือ Apache ที่มีการติดตั้งเป็นแม่ข่ายเว็บอย่างกว้างขวาง และInternet Information Server (IIS) ของ Microsoft แม่ข่ายเว็บอื่น รวมถึงแม่ข่ายเว็บของ Novell สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Netware และตระกูลของแม่ข่าย Lotus Domino ของ IBM ส่วนใหญ่สำหรับลูกค้าของOS/390 และ AS/400
แม่ข่ายเว็บมักจะมาเป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจขนาดใหญ่ของอินเตอร์เน็ต และโปรแกรมที่เกี่ยวอินทราเน็ตสำหรับแม่ข่ายอีเมล์ คำขอดาวน์โหลดสำหรับ File Transfer Protocol (FTP) และการสร้างและเผยแพร่เว็บเพจ การพิจารณาเลือกแม่ข่ายเว็บ รวมถึงการทำได้ดีกับระบบปฏิบัติการและแม่ข่ายอื่น ความสามารถในการควบคุมโปรแกรมด้านแม่ข่าย คุณลักษณะความปลอดภัย การเผยแพร่ search engine และเครื่องมือสร้างไซต์ที่อาจจะมีมาด้วย




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แผ่นบูตและโปรแกรมป้องกันและกำจัดไวรัสใน USB Drive

คำสั่ง network บน Dos เบื้องต้น

จุลดิศ พินิจพาระ